เมนู

กถาว่าด้วยสิ่งของที่เขาฝากไว้


พึงทราบวินิจฉัยในของฝากต่อไป:- แม้ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่
รู้ตัวอยู่ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้รับไว้ ดังนี้ จึงเป็นทุกกฏ เพราะเป็นบุพประโยค
แห่งอทินนาทาน คงเป็นทุกกฏนั่นเอง แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า ท่าน
พูดอะไร ? คำนี้ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า, ทั้งไม่สมควรแก่ท่านด้วย เจ้าของยัง
ความสงสัยให้เกิดขึ้นว่า เราได้มอบทรัพย์ไว้ในมือของภิกษุนี้ ในที่ลับ, คน
อื่นไม่มีใครรู้ เธอจักให้แก่เรา หรือไม่หนอ ? เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุ
เจ้าของเห็นข้อที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หยาบคายเป็นต้น จึงทอดธุระว่า ภิกษุรูปนี้
จักไม่คืนให้แก่เรา ในภิกษุและเจ้าของภัณฑะนั้น ถ้าภิกษุนี้ ยังมีความ
อุตสาหะในอันให้อยู่ว่า เราจักทำให้เขาลำบาก แล้วจักให้ ยังรักษาอยู่ก่อน
แม้ถ้าเธอไม่มีความอุตสาหะในอันให้, แต่เจ้าของภัณฑะยังมีความอุตสาหะใน
อันรับ ยังรักษาอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าภิกษุไม่มีอุตสาหะในอันให้นั้น เจ้าของ
ภัณฑะทอดธุระว่า ภิกษุนี้ จักไม่ให้แก่เรา เป็นปาราชิกแก่ภิกษุ เพราะทอด
ธุระของทั้งสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้ แม้ถ้าภิกษุพูดแต่ปากว่า จักให้ แต่
จิตใจ ไม่อยากให้ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นปาราชิก ในเพราะเจ้าของทอดธุระ
แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ย้ายภัณฑะ ชื่อว่าของฝากนั้น ที่ชนเหล่าอื่นมอบไว้
ในมือของตน เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองไปจากฐาน โดยความเป็นประเทศ
นี้ไม่ได้คุ้มครอง นำไปเพื่อต้องการเก็บไว้ในที่คุ้มครอง อวหารย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้ให้เคลื่อนจากฐานแม้ด้วยไถยจิต. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นของที่
เขาฝากไว้ในมือของตน, แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุผู้ใช้สอยเสียด้วย
ไถยจิต ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ถึงในการถือเอาเป็นของยืม ก็เหมือนกันแล.

แม้คำว่า ธมฺมํ จรนฺโต เป็นอาทิ ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน พรรณนา
พระบาลี เท่านี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยนอกพระบาลีในของฝากนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจ
แห่งจตุกกะมีปัตตจตุกกะเป็นต้น อย่างนี้ :-
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ให้เกิดความโลภขึ้นในบาตรที่มีราคามากของ
ผู้อื่น ใคร่จะลักบาตรนั้น จึงกำหนดที่ซึ่งเขาวางบาตรครั้นนั้นไว้ได้อย่างดี แล้ว
จึงวางบาตรแม้ของตนไว้ใกล้ชิดบาตรครั้นนั้นทีเดียว ในสมัยใกล้รุ่ง แม้เธอจึง
มาให้บอกธรรม แล้ว เรียนพระมหาเถระผู้กำลังหลับอยู่ อย่างนี้ว่า กระผมไหว้
ขอรับ พระเถระถามว่า นั่นใคร เธอจึงตอบว่า กระผมเป็นภิกษุอาคันตุกะ
ขอรับ อยากจะลาไปแค่เช้านี่แหละ และบาตรของกระผมมีสายโยคเช่นนี้
มีถลกเช่นนี้ วางไว้ที่โน้น, ดีละ ขอรับ กระผมควรได้บาตรนั้น. พระเถระ
เข้าไปฉวยเอาบาตรนั้น, เป็นปาราชิก แก่ภิกษุผู้เป็นโจร ในขณะยกขึ้นทีเดียว.
ถ้าเธอกลัวแล้วหนีไปในเมื่อพระเถระมาแล้ว ถามว่า คุณเป็นใคร มาผิดเวลา.
เธอต้องปาราชิกแล้วเทียว จึงหนีไป. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่พระเถระ เพราะ
ท่านมีจิตบริสุทธิ์ พระเถระทำในใจว่า เราจักหยิบบาตรนั้น แต่ฉวยเอาใบ
อื่นไป, แม้ในบาตรใบนั้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่นัยนี้ ย่อมเหมาะในเมื่อ
พระเถระหยิบบาตรใบอื่น แต่เหมือนใบนั้น ดังเรื่องคนที่เหมือนกันกับคนที่
สั่งในมนุสสวิคคหสิกขาบทฉะนั้น. ส่วนในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า พึงปรับ
อาบัติด้วยการย่างเท้าไป คำที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้น ย่อมสมในเมื่อพระเถระ
หยิบบาตรอื่น แต่ไม่เหมือนใบนั้นเลย. พระเถระสำคัญว่าเป็นบาตรใบนั้น
แต่ได้หยิบเอาบาตรของตนให้ไป, ไม่เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้เป็นโจร เพราะ
บาตรนั้นเจ้าของให้, เพราะตนถือเอาด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ เป็นทุกกฏ. พระเถระ

สำคัญว่าเป็นบาตรใบนั้น แต่ได้หยิบเอาบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรนั่นเองให้ไป,
แม้ในอธิการว่าด้วยการหยิบบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรให้ไปนี้ ไม่เป็นปาราชิก
แก่ภิกษุผู้เป็นโจร เพราะบาตรใบนั้นเป็นของ ๆ ตน, แต่เพราะตนถือเอา
ด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ เป็นทุกกฏแท้. เป็นอนาบัติแก่พระเถระในที่ทั้งปวง.
ภิกษุอีกรูปอื่น คิดว่า จักลักบาตร แล้วไหว้พระเถระผู้กำลังจำวัด
หลับอยู่ เหมือนอย่างนั่นเอง และถูกพระเถระถามว่า นี้ใคร ?. ภิกษุนั้น
เรียนว่า กระผมเป็นภิกษุไข้ ขอรับ ! ได้โปรดให้บาตรใบหนึ่งแก่กระผมก่อน,
กระผมไปยังประตูบ้านแล้ว จักนำเภสัชมา. พระเถระกำหนดว่า ในที่นี้ ไม่มี
ภิกษุไข้, นี้ เป็นโจร แล้วพูดว่า จงนำบาตรนี้ไป ได้นำบาตรของภิกษุ
ผู้คู่เวรของตนให้ไป, เป็นปาราชิกแก่ทั้งสองรูป ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง. แม้
เมื่อพระเถระจำได้ดีว่า เป็นบาตรของภิกษุผู้คู่เวร แล้วยกบาตรของรูปอื่นขึ้น
ก็มีนัยเหมือนกัน ก็ถ้าพระเถระจำได้ดีว่า บาตรใบนี้ ของภิกษุผู้คู่เวร
แต่ได้ยกเอาบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรนั่นเองให้ไป เป็นปาราชิกแก่พระเถระ
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้เป็นโจร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ถ้าพระเถระสำคัญ
อยู่ว่า บาตรใบนี้ ของภิกษุผู้คู่เวรของภิกษุผู้เป็นโจรนั้น จึงให้บาตรของตน
ไป, เป็นทุกกฏทั้งสองรูป โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระมหาเถระรูปหนึ่ง
พูดกะภิกษุผู้อุปัฏฐากว่า คุณจงถือเอาบาตรและจีวร, เราจักไปบิณฑบาตยังบ้าน
ชื่อโน้น. ภิกษุหนุ่ม ถือเอาเดินไปข้างหลังพระเถระ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว
ถ้าเลื่อนภาระบนศีรษะลงมาที่คอ ไม่เป็นปาราชิก. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า บาตรและจีวรนั้น เธอถือไปตามคำสั่ง, แต่ถ้าเธอแวะออกจากทาง
เข้าดงไป, พึงปรับอาบัติการย่างเท้า. ถ้าเธอกลับบ่ายหน้าไปทางวิหาร
หนีไป เข้าวิหารแล้วจึงไป เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารไป. ถ้าแม้น
เธอบ่ายหน้าสู่บ้าน หนีไปจากสถานที่พระมหาเถระผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่ม เป็น

ปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารบ้านไป. แต่ถ้าทั้งสองรูป เที่ยวบิณฑบาตฉัน
แล้ว หรือถือเอาออกไป, ฝ่ายพระเถระพูดกะภิกษุหนุ่มรูปนั้นแม้อีกว่า คุณจง
ถือเอาบาตรและจีวร, เราจักไปยังวิหาร และภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็เลื่อนภาระ
บนศีรษะลงมาที่คอในสถานที่นั้น โดยนัยก่อนนั่นแล ยังรักษาอยู่ก่อน ถ้าแวะ
ออกจากทางเข้าดงไป พึงปรับอาบัติด้วยการย่างเท้า. เธอกลับแล้วมุ่งหน้าไป
สู่บ้านนั่นแลหนีไป เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารบ้านไป. เธอมุ่งหน้า
ไปยังวิหารข้างหน้าหนีไป แต่ไม่ยืนไม่นั่งในวิหาร ไปเสียด้วยไถยจิต ยังไม่
ทันสงบนั่นเอง, เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารไป. ฝ่ายภิกษุรูปใด ท่าน
มิได้ใช้ฉวยเอาเอง เป็นปาราชิกแก่ภิกษุรูปนั้น ในเพราะเลื่อนภาระที่ศีรษะ
ลงมาที่คอเป็นต้น คำที่เหลือเหมือนกับคำก่อนนั่น แล.
ส่วนภิกษุใด อันพระเถระสั่งว่า คุณจงไปยังวิหารชื่อโน้นแล้ว ซัก
หรือย้อมจีวรแล้วจงมา ดังนี้ รับคำว่า สาธุ แล้วฉวยเอาไป, ไม่เป็นปาราชิก
แม้แก่ภิกษุรูปนั้น ในเพราะยังไถยจิตให้เกิดขึ้น แล้วเลื่อนภาระบนศีรษะลง
มาที่คอเป็นต้นในระหว่างทาง. ในเพราะแวะออกจากทาง พึงปรับเธอด้วยการ
ย่างเท้า. เธอไปยังวิหารนั้นแล้ว พักอยู่ในวิหารนั้นนั่นเอง ใช้สอยให้เก่าไป
ด้วยไถยจิต หรือว่าพวกโจรลักเอาจีวรนั้นของพระเถระนั้นไป ไม่เป็นอวหาร
แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อเธอออกจากวิหารนั้นมา ก็นัยนี้แล. ฝ่ายภิกษุใด
ท่านมิได้สั่ง เมื่อพระเถระทำนิมิตแล้ว หรือตนเองกำหนดได้ เห็นจีวร
เศร้าหมองแล้ว จึงกล่าวว่า โปรดมอบจีวรเถิด ขอรับ ! ผมจักไปยังบ้าน
ชื่อโน้น ย้อมแล้วจักนำมา ดังนี้ แล้วฉวยเอาไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุนั้น
ในเพราะยังไถยจิตให้เกิดขึ้น แล้วเลื่อนภาระบนศีรษะลงมาที่คอเป็นต้นใน
ระหว่างทาง. เพราะเหตุไร ? เพราะจีวรนั้น ตนถือเอาด้วยท่านมิได้สั่ง.

เมื่อเธอแวะออกจากทางก็ดี กลับมายังวิหารนั้นนั่นเอง แล้วก้าวล่วงแดนวิหาร
ไปก็ดี ก็เป็นปาราชิก ซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ในเมื่อไถยจิตเกิดขึ้น
แม้แก่เธอผู้ไปแล้วที่บ้านนั้น ย้อมจีวรแล้วกลับมาอยู่ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
แต่ถ้าเธอไปในวิหารใด ก็พักอยู่ในวิหารนั้น หรือในวิหารในระหว่างทาง
หรือกลับมายังวิหาร (เดิม) นั้นนั่นแลแล้วพักอยู่ ไม่ให้ก้าวล่วงแดนอุปจาร
ในด้านหนึ่งแห่งวิหารนั้นไปก็ดี ใช้สอยให้เก่าไปด้วยไถยจิตก็ดี พวกโจรลัก
จีวรนั้น ของภิกษุรูปนั้นไปก็ดี จีวรนั้นสูญหายไปด้วยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ดี เป็นภัณฑไทย. แต่เมื่อเธอก้าวล่วงแดนอุปจารสีมาไป เป็นปาราชิก.
ฝ่ายภิกษุใด เมื่อพระเถระทำนิมิตอยู่ จึงเรียนท่านว่า โปรดให้เถิด
ขอรับ ! ผมจักย้อมมาถวาย ดังนี้ แล้วเรียนถามว่า ผมจะไปย้อมที่ไหน
ขอรับ ? ส่วนพระเถระกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า คุณจงไปย้อมในที่ซึ่งคุณ
ปรารถนาเถิด. ภิกษุรูปนี้ ชื่อว่า ทูตที่ท่านส่งไป. ภิกษุนี้ แม้เมื่อหนีไปด้วย
ไถยจิตก็ไม่ควรปรับด้วยอวหาร. แต่เมื่อเธอหนีไปด้วยไถยจิตก็ดี ให้ฉิบหาย
เสียด้วยการใช้สอยหรือด้วยประการอื่นก็ดี ย่อมเป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ภิกษุ
ฝากบริขารบางอย่างไปไว้ในมือของภิกษุ ด้วยสั่งว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุชื่อโน้น
ในวิหารชื่อโน้น. วินิจฉัยในเมื่อไถยจิตเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ที่รับบริขารนั้นในที่
ทั้งปวง ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในคำนี้ว่า คุณจงไปยังวิหารชื่อโน้นแล้ว
ซักหรือย้อมจีวรแล้วจงมา ดังนี้. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ใคร่จะส่ง (บริขาร) ไป
จึงทำนิมิตโดยนัยว่า ใครหนอ จักรับไป. ก็ในสถานที่นั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง
กล่าวว่า โปรดให้เถิด ขอรับ ! ผมจักรับไป ดังนี้แล้ว ก็รับเอา (บริขารนั้น)
ไป. วินิจฉัยในเมื่อไถยจิตเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ที่รับบริขารนั้น ในที่ทั้งปวง เป็น
เช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในคำนี้ว่า โปรดให้จีวรเถิด ขอรับ ! ผมไปยังบ้าน
ชื่อโน้น ย้อมแล้ว จักนำมา ดังนี้.

พระเถระได้ผ้าเพื่อประโยชน์แก่จีวรแล้ว ก็เก็บไว้ในตระกูลอุปัฏฐาก.
ถ้าอันเตวาสิกของพระเถระนั้น ใคร่จะลักเอาผ้าไป จึงไปในตระกูลนั้น แล้ว
พูดเหมือนตนถูกพระเถระใช้ให้ไปว่า นัยว่าพวกท่านจงให้ผ้านั้น. อุบาสิกา
เชื่อคำของภิกษุรูปนั้นแล้ว ได้นำเอาผ้าที่อุบาสกเก็บไว้มาถวายก็ดี อุบาสก
หรือใครคนอื่น (เชื่อคำของภิกษุรูปนั้นแล้ว) ได้นำเอาผ้าที่อุบาสิกาเก็บไว้
มาถวายก็ดี. ภิกษุรูปนั้น เป็นปาราชิกในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง. แต่ถ้าพวก
อุปัฏฐากของพระเถระพูดว่า พวกเราจักถวายผ้านี้แก่พระเถระ แล้วก็เก็บผ้า
ของตนไว้. ถ้าอันเตวาสิกของพระเถระนั้น ใคร่จะลักเอาผ้านั้น จึงไปใน
ตระกูลนั้น แล้วพูดว่า นัยว่า พวกท่านใคร่จะถวายผ้าแก่พระเถระ จงให้ผ้า
นั้นเถิด. และอุปัฏฐากเหล่านั้น เชื่ออันเตวาสิกรูปนั้นแล้วพูดว่า ท่านผู้เจริญ !
พวกข้าพเจ้าตั้งใจไว้ว่า นิมนต์ให้ท่านฉันแล้ว จักถวาย จึงได้เก็บไว้ นิมนต์
ท่านรับเอาไปเถิด แล้วก็ถวายไป ไม่เป็นปาราชิก เพราะผ้านั้นพวกเจ้าของ
ถวายแล้ว แต่เป็นทุกกฏ เพราะเธอถือเอาด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ และเป็น
ภัณฑไทยด้วย.
ภิกษุเดินไปยังบ้านบอกแก่ภิกษุว่า ผู้มีชื่อนี้ จักถวายผ้าอาบน้ำฝน
แก่ผม, ท่านพึงรับเอาผ้าผืนนั้นแล้วเก็บไว้ด้วย. ภิกษุรูปนั้นรับว่า ดีละ แล้ว
เก็บผ้าสาฎกที่มีราคามากที่ภิกษุนั้นให้ไว้ กับผ้าสาฎกที่มีราคาน้อยซึ่งตนได้แล้ว
ภิกษุนั้นมาแล้วจะรู้ว่าผ้าที่ตนได้มีราคามาก หรือไม่รู้ก็ตาม พูดว่า ท่านจงให้
ผ้าอาบน้ำฝนแก่ผมเถิด เธอตอบว่า ผ้าสาฎกที่ท่านได้มามีเนื้อหยาบ, ส่วน
ผ้าสาฎกของผมมีราคามาก, ทั้งสองผืนผมได้เก็บไว้ในโอกาสชื่อโน้นแล้ว,
โปรดเข้าไปเอาเถิด. เมื่อภิกษุรูปที่ทวงนั้นเข้าไปเอาผ้าสาฎกเนื้อหยาบแล้ว,
ภิกษุรูปนอกนี้ถือเอาผ้าสาฎกอีกผืนหนึ่ง เป็นปาราชิกในขณะยกขึ้น. แม้ถ้า

ภิกษุที่เก็บผ้าไว้นั้น ได้จารึกชื่อของตนไว้ในผ้าสาฎกของภิกษุที่มาทวงนั้น
และชื่อของภิกษุที่มาทวงนั้นไว้ในผ้าสาฎกของตน แล้วกล่าวว่า ท่านจงไป
อ่านดูชื่อ ถือเอาไปเถิด ดังนี้. แม้ในผ้าสาฎกที่กล่าวนั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ส่วนภิกษุเจ้าถิ่นรูปใด เก็บผ้าสาฎกที่ตนเองและภิกษุอาคันตุกะนั้นได้
มารวมกันไว้แล้ว พูดกะภิกษุอาคันตุกะนั้นอย่างนี้ว่า ผ้าสาฎกที่ท่านและผมได้
ทั้งสองผืนเก็บไว้ภายในห้อง, ท่านจงไปเลือกเอาผ้าที่ท่านปรารถนาเถิด. และ
ภิกษุอากันตุกะนั้น ถือเอาผ้าสาฎกเนื้อหยาบที่ภิกษุเจ้าถิ่นได้มานั่นแล เพราะ
ความละอาย. ในภิกษุอาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น เมื่อภิกษุเจ้าถิ่นถือเอาผ้าสาฎก
นอกนี้ เหลือจากที่อาคันตุกะภิกษุเลือกเอาแล้ว ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อพวกภิกษุเจ้าถิ่นทำจีวรกรรมอยู่ เก็บบาตรและ
จีวรไว้ในที่ใกล้เข้าใจว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น จักคุ้มครองไว้ จึงไปอาบน้ำ
หรือไปในที่อื่นเสีย ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นคุ้มครองบาตรและจีวรนั้นไว้, ข้อนั้นเป็น
การดี, ถ้าไม่คุ้มครองไว้, เมื่อบาตรและจีวรนั้นสูญหายไป, ก็ไม่เป็นสินใช้.
แม้ถ้าภิกษุอาคันตุกะนั้น กล่าวว่า จงเก็บบาตรและจีวรนี้ไว้เถิด ขอรับ !
แล้วไป, และภิกษุเจ้าถิ่นนอกนี้ไม่ทราบ เพราะมัวขวนขวายในกิจอยู่, พึง
ทราบนัยเหมือนกันนี้. แม้ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น อันภิกษุอาคันตุกะกล่าวว่า
จงเก็บบาตรและจีวรนี้ไว้เถิด ขอรับ ! ได้ห้ามว่า พวกข้าพเจ้ากำลังยุ่ง และ
ภิกษุอาคันกะนอกนี้ก็คิดว่า ท่านเหล่านี้จักเก็บแน่นอน ไม่ติดใจแล้วไปเสีย,
พึงทราบนัยเหมือนกันนี้. แต่ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นถูกพระอาคันตุกะรูปนั้น ขอร้อง
หรือไม่ขอก็ตาม พูดว่า พวกข้าพเจ้าจักเก็บไว้เอง, ท่านจงไปเถิด ดังนี้
ต้องรักษาบาตรและจีวรนั้นไว้ ถ้าไม่รักษาไว้ไซร้, เมื่อบาตรและจีวรนั้น
สูญหายไป ย่อมเป็นสินใช้. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า บาตรและจีวรนั้น
พวกเธอรับไว้แล้ว.

ภิกษุรูปใดเป็นภัณฑาคาริก (ผู้รักษาเรือนคลัง) เวลาจวนรุ่งสางนั่เอง
ได้รวบรวมบาตรและจีวรของภิกษุทั้งหลายลงไปไว้ยังปราสาทชั้นล่าง ไม่ได้
ปิดประตู ทั้งไม่ได้ บอกแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น ไปเที่ยวภิกขาจารในที่ไกลเสีย,
ถ้าพวกโจรลักเอาบาตรและจีวรเหล่านั้นไปไซร้, ย่อมเป็นสินใช้เก่เธอแท้.
ส่วนภิกษุภัณฑาคาริกรูปใด ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ !
ท่านยกบาตรและจีวรลงมาเถิด บัดนี้ ได้เวลาจับสลาก จึงถามว่า พวกท่าน
ประชุมพร้อมกันแล้วหรือ ?
เมื่อท่านเหล่านั้นเรียนว่า ประชุมพร้อมแล้ว ขอรับ ! จึงได้ขนเอา
บาตรและจีวรออกมาวางไว้ แล้วกั้นประตูภัณฑาคาร (เรือนคลัง) แล้วสั่งว่า
พวกท่านถือเอาบาตรและจีวร แล้วพึงปิดประตูภายใต้ปราสาทเสียก่อนจึงไป
ดังนี้แล้วไป; ก็ในพวกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีชาติเฉื่อยชา เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายไปกันแล้ว ภายหลังจึงเช็ดตาลุกขึ้นเดินไปยังที่มีน้ำ หรือที่ล้างหน้า.
ขณะนั้นพวกโจรพบเห็นเข้า จึงลักเอาบาตรและจีวรของเธอนั้นไป, เป็นอัน
พวกโจรลักไปด้วยดี, ไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุภัณฑาคาริก. แม้ถ้าภิกษุบางรูป
ไม่ได้แจ้งแก่ภิกษุภัณฑาคาริกเลย ก็เก็บจีวรของตนไว้ในภัณฑาคาร, แม้เมื่อ
บริขารนั้นสูญหายไป ก็ไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุภัณฑาคาริก. แต่ถ้าภิกษุภัณฑา-
คาริก เห็นบริขารนั้นแล้ว คิดว่า เก็บไว้ในที่ไม่ควร จึงเอาไปเก็บไว้,
เมื่อบริขารนั้นสูญหายไป เป็นสินใช้แก่ภิกษุภัณฑาคาริกรูปนั้น. ถ้าภิกษุ
ภัณฑาคาริก อันภิกษุผู้เก็บไว้กล่าวว่า ผมเก็บบริขารชื่อนี้ไว้แล้ว ขอรับ !
โปรดช่วยดูให้ด้วยย รับว่า ได้ หรือรู้ว่าเก็บไว้ไม่ดี จึงเก็บไว้ในที่อื่นเสีย,
เมื่อบริขารนั้นสูญหายไป เป็นสินใช้ แก่ภิกษุภัณฑาคาริกนั้นเหมือนกัน.
แต่เมื่อเธอห้ามอยู่ว่า ข้าพเจ้าไม่รับรู้ ไม่เป็นสินใช้. ฝ่ายภิกษุใด เมื่อภิกษุ

ภัณฑาคาริกเห็นอยู่นั่นเอง เก็บไว้ ทั้งไม่ให้ภิกษุภัณฑาคาริกรับรู้. บริขาร
ของภิกษุนั้นหายไป เป็นอันสูญหายไปด้วยดีแล. ถ้าภิกษุภัณฑาคาริก เก็บ
บริขารนั้นไว้ในที่แห่งอื่น เมื่อสูญหายไปเป็นสินใช้.

[

โจรลักของสงฆ์ในเรือนคลัง ปรับสินไหมภิกษุผู้รักษา

]
ถ้าภัณฑาคารรักษาดี บริขารทั้งปวงของสงฆ์และของเจดีย์ เขาเก็บ
ไว้ในภัณฑาคารนั้นแล. แต่ภิกษุภัณฑาคาริกเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด เปิดประตูไว้
ไปเพื่อฟังธรรมกถา หรือเพื่อทำกิจอื่นบางอย่างในที่ใดที่หนึ่ง ขณะนั้นพวก
โจรเห็นแล้ว ลักภัณฑะไปเท่าใด ภัณฑะเท่านั้นเป็นสินใช้แก่เธอทั้งหมด.
เมื่อภัณฑาคาริกออก จากภัณฑาคารไปจงกรมอยู่ภายนอก หรือเปิดประตูตาก
อากาศ หรือนั่งตามประกอบสมณธรรมในภัณฑาคารนั่นเอง หรือนั่งใน
ภัณฑาคารนั้นเอง ขวนขวายด้วยกรรมบางอย่าง หรือเป็นผู้แม้ปวดอุจจาระ
ปัสสาวะ เมืออุปจารในที่นั้นเองมีอยู่ แต่ไปข้างนอกหรือเลินเล่อเสียด้วยอาการ
อื่นบางอย่าง, พวกโจรเปิดประตู หรือเข้าทางประตูที่เปิดไว้นั่นเอง หรือตัด
ที่ต่อลักภัณฑะไปเท่าใด เพราะความเลินเล่อของเธอเป็นปัจจัย ภัณฑะเท่านั้น
เป็นสินใช้แก่เธอนั้นแลทั้งหมด. ฝ่ายพระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในฤดูร้อน
จะเปิดหน้าต่างนอน ก็ควร. แต่เมื่อปวดอุจจาระปัสสาวะแล้วไปในที่อื่น ใน
เมื่ออุปจารนั้นไม่มี จัดว่าเหลือวิสัย เพราะเธอตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้เป็นไข้ ;
เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นสินใช้. ฝ่ายภิกษุใดถูกความร้อนภายในเบียดเบียน จึง
ทำประตูให้เป็นของรักษาดีแล้วออกไปข้างนอก. และพวกโจรจับภิกษุนั้น ได้
แล้ว บังคับว่า จงเปิดประตู. เธอไม่ควรเปิดจนถึงครั้งที่สาม. แต่ถ้าพวก
โจรเงื้อขวานเป็นต้น ขู่ว่า ถ้าท่านไม่ยอมเปิด, พวกเราจักฆ่าท่านเสียด้วย
จักทำลายประตูลักบริขารไปเสียด้วย. เธอจะเปิดให้ ด้วยทำในใจว่า เมื่อเรา